สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สุรพงษ์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ถัดไปโอฬาร ไชยประวัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
ถัดไปสุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 6 มกราคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
เลขาธิการพรรคพลังประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
(รักษาการเลขาธิการพรรคไทยรักไทย)
ถัดไปสุณีย์ เหลืองวิจิตร
(เลขาธิการพรรคเพื่อไทย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม​ (2539–2541)​
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางปราณี สืบวงศ์ลี

นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) เป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า "หมอเลี้ยบ" เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการอำนวยการและอุปนายกสภา มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท [1]อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน และหนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุลา

ประวัติ[แก้]

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2521 และแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2523 และผ่านอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์ป้องกันจากแพทยสภา ในปี พ.ศ. 2529

ระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533

การทำงาน[แก้]

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนการบริหารโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2539 ได้ ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 8 เขตธนบุรี และเขตคลองสาน สังกัดพรรคพลังธรรม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ถูกปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉันตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[3]

หลังจากการพักโทษเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สุรพงษ์เข้าเป็นพิธีกรรายการ "50 คำถาม กับ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" ทางช่องพีซทีวี และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ร่วมดำเนินรายการ "สุมหัวคิด" ทางวอยซ์ทีวี ร่วมกับหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล และเอกวรัญญู อัมระปาล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งเขาเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[4]

คดีความ[แก้]

คดีหมายเลขดำ อม.39/2558 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อายุ 58 ปี อดีต รมว.คลัง สมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากกรณีเมื่อปี 2551 ระหว่าง นพ.สุรพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง สมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. โดยมิชอบ ซึ่งภายหลังมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ได้วินิจฉัยว่า การคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการ ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกรรมการ ในคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคน มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1[5]ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟ้อง

สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีมติสั่งฟ้อง นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวหาว่า นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ฝ่าฝืนมติ คณะรัฐมนตรี และมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไป 32,000 ล้านบาทเศษ และทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ นอกจากนี้ ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่าได้ดำเนินการส่งมองท่อก๊าซคืนครบแล้ว โดยไม่รอผลตรวจสอบและรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามมติ คณะรัฐมนตรี ก่อน และไม่เสนอขอความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีตาม พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44 ก่อน[6]

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งจำคุก สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157[7]ปรับ 2 หมื่นบาทโทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งจำคุก สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญาปรับ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีที่มีการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่า 51% เป็นไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยทราบดีอยู่แล้วว่า เหตุที่บริษัทขอลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขันให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์[8] ได้รับการพักโทษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี: สามัคคี วิจารณ์ สามัคคี
  2. "กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539", วิกิพีเดีย, 2024-03-01, สืบค้นเมื่อ 2024-04-03
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. "ตั้ง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. คดีหมายเลขดำ อม.39/2558[ลิงก์เสีย]
  6. "พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-11.
  7. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  8. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ถัดไป
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ

(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
โอฬาร ไชยประวัติ
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
เริ่มตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548)
สุวิทย์ คุณกิตติ
พลตำรวจเอก เฉลิมเดช ชมพูนุท
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ